ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ภาพประกอบของการทำงานในโรงงาน

ระบบ ERP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างไร

เครื่องมือการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ซอฟต์แวร์ที่ช่วยพัฒนา ปรับปรุง และทำให้กระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการรวบรวมกิจกรรมด้านการเงิน ห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินงาน การค้า การรายงาน การผลิต และทรัพยากรบุคคลขององค์กรไว้ในที่เดียว ซึ่งช่วยให้ผู้นำขององค์กรมองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมาย และแยกแยะว่าส่วนประกอบต่างๆ มีผลอย่างไรต่อกันและกัน

การใช้ ERP ในระบบห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถประหยัดเวลาและเงินได้โดยการปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดความจำเป็นที่พนักงานจะต้องอัปเดตข้อมูลด้วยตนเอง โมดูลห่วงโซ่อุปทานของ ERP แบบสมัยใหม่ยังประกอบด้วย โซลูชันดิจิทัล เช่น เทคโนโลยีแดชบอร์ด ข่าวกรองธุรกิจ และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) เพื่อทำให้กระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง

ประโยชน์ของการใช้ ERP ในห่วงโซ่อุปทาน

เมื่อคุณย้ายไปยัง ระบบ ERP สำหรับห่วงโซ่อุปทาน คุณจะสามารถเห็นภาพรวมของทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของคุณได้ในที่เดียว ทำให้คุณสามารถตัดสินใจและวิเคราะห์อย่างมีข้อมูลรอบด้านมากขึ้น สื่อสารกับแผนกต่างๆ ได้ดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย และมุ่งเน้นไปที่วิธีที่ดีที่สุดในการขยายธุรกิจของคุณ

  • รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ การใช้เมตริกตามเวลาจริงที่ได้รับข้อมูลจาก AI หมายความว่า ระบบจัดจำหน่ายของธุรกิจคุณได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถของห่วงโซ่อุปทาน ในการตอบสนองต่อการหยุดชะงักของการดำเนินงานหรือการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็ว
  • ประหยัดเวลาและเงินด้วยระบบอัตโนมัติ ด้วยการลดงานประจำวันที่กินเวลานาน เช่น การออกใบแจ้งหนี้ โดยใช้ระบบอัตโนมัติ คุณจะไม่เพียงแต่เพิ่มเวลาให้พนักงานเพื่อไปทำงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้น แต่ยังเร่งการจัดจำหน่ายและช่วยรักษาการตรงตามมาตรฐานด้วย
  • ทลายกำแพงระหว่างแผนกต่างๆ ณ จุดหนึ่ง คุณอาจเคยประสบกับสถานการณ์การทำงานที่แผนกใดแผนกหนึ่งไม่แบ่งปันข้อมูลกับแผนกอื่น ทำให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด จุดนี้เป็นจุดที่การใช้ ERP ในห่วงโซ่อุปทานจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยการทำลายอุปสรรคของแผนกต่างๆ และรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวเพื่อให้ทุกคนมองเห็นได้เท่าๆ กัน
  • เพิ่มความสามารถในการมองเห็น เมื่อทลายกำแพงของแผนกต่างๆ ได้ คุณจะมองเห็นเมตริกและประสิทธิภาพได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยควบคุมปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ เช่น การควบคุมสินค้าคงคลัง การเติมสินค้า ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และการคาดการณ์ในอนาคต
  • ขยายธุรกิจของคุณ เมื่อคุณพร้อมและเริ่มต้นใช้งานระบบ ERP ที่ทันสมัยและได้รับประโยชน์ทั้งหมดที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ในชุดเครื่องมือของคุณแล้ว ธุรกิจของคุณก็อยู่ในสถานะที่เข้มแข็งมากขึ้นในการมุ่งมั่นที่จะเติบโต ด้วยโมดูลห่วงโซ่อุปทาน ERP คุณจะสามารถสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ เช่น โปรแกรมสำหรับการสมัครใช้งาน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ชนะใจลูกค้าด้วยรูปแบบการซื้ออื่นๆ และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ในที่สุด

ERP ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างไร

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพใน ERP มีลักษณะอย่างไรในชีวิตจริง ให้พิจารณา กรณีศึกษา ของบริษัทต่อไปนี้ที่ประสบความสำเร็จโดยใช้ Dynamics 365 Supply Chain Management

Toyota Material Handling India เปลี่ยนจากการให้พนักงานป้อนข้อมูลสินค้าคงคลังลงในสเปรดชีตเป็นการใช้ ERP บนระบบคลาวด์ในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้บริษัทสามารถดูสินค้าคงคลังได้ในมุมมองเดียวจากสถานที่และคลังสินค้าหลายแห่ง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพิ่มมากขึ้น รอบเวลาในการทำงานลดลง และทรัพยากรต่างๆ ได้รับการปรับให้เหมาะสม

ผู้ค้าปลีกแฟชั่นชั้นนำอย่าง Aubainerie ซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ประมาณ 6,000 รายการในแต่ละปี ต้องการวิธีการที่แม่นยำในจัดการข้อมูลสินค้าคงคลังจำนวนมหาศาล การเปลี่ยนมาใช้ ERP ในห่วงโซ่อุปทานที่จะทำการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์และต่อเนื่อง ทำให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนการช้อปปิ้งให้เหมาะกับลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและมีอัตราคอนเวอร์ชันเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์

เมื่อเปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นระบบ ERP ที่ทันสมัยแล้ว Alterra Mountain Company ก็ปรับใช้โซลูชันการจัดการสินทรัพย์ที่ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมเกี่ยวกับสถานะของสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ส่งผลให้มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่ง่ายดายมากขึ้น ซึ่งช่วยเร่งเวลาการทำงานของสินทรัพย์ ตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจการลงทุนสินทรัพย์ที่รวดเร็วและมีข้อมูลที่ดีกว่า

การรวมซอฟต์แวร์ ERP ไว้ในห่วงโซ่อุปทานของคุณ

การทราบเส้นทางที่ดีที่สุดในการเริ่มกระบวนการผสานรวม ซอฟต์แวร์ ERP เข้ากับเวิร์กโฟลว์ของคุณจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่นและลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุด

  1. รวบรวมทีมงานของคุณ การมีตัวแทนจากแต่ละแผนกเพื่อแบ่งปันมุมมองและความต้องการเฉพาะแผนกนั้นๆ เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ ERP ใหม่ของคุณจะทำได้ตามที่คุณต้องการ เมื่อคุณประชุมกัน ให้หารือเกี่ยวกับกระบวนการปัจจุบันของคุณ สิ่งที่คุณต้องการปรับปรุง และดูมีโซลูชันซอฟต์แวร์ใดบ้างที่ดูจะเหมาะสมที่สุด
  2. สร้างความคุ้นเคยกับระบบใหม่ของคุณ เมื่อทีมของคุณเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะสมกับความต้องการต่างๆ มากที่สุดได้แล้ว ให้สมาชิกในทีมแต่ละคนทำการตรวจสอบคุณลักษณะและความสามารถอย่างละเอียดถี่ถ้วน
  3. เตรียมข้อมูลของคุณให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตรวจสอบและล้างข้อมูลที่คุณวางแผนจะย้ายก่อนที่จะรวมเอาไว้ในสเปรดชีต ซึ่งคุณจะรวบรวมและแบ่งข้อมูลออกเป็นตารางที่เข้าใจง่ายเพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการแปลงเป็นระบบใหม่
  4. ทดสอบซ้ำแล้วซ้ำอีก ร่วมกับทีมของคุณ ใช้ฐานข้อมูลการทดสอบที่มีข้อมูลการทำรายการจริงเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ ทดสอบความถูกต้อง และตรวจสอบว่าการผสานรวมและอินเทอร์เฟซทั้งหมดทำงานตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ ให้คิดว่าขั้นตอนนี้คล้ายกับการทดสอบเบต้า คุณจะมีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่คุณพบก่อนที่จะนำระบบไปใช้ทั่วทั้งองค์กรของคุณ
  5. การฝึกอบรมพนักงานของคุณ ให้คำปรึกษาแก่สมาชิกในทีม ERP ของคุณ หารือเกี่ยวกับประเภทของการฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงานที่ต้องใช้หรือทำความเข้าใจกับระบบใหม่
  6. นำออกมาใช้งาน ทำรายการตรวจสอบก่อนเริ่มใช้งานจริงเพื่อจัดระเบียบและเตรียมพร้อมสำหรับวิธีรับมือในด้านต่างๆ เช่น โปรโตคอลสำหรับการสื่อสารในกรณีระบบมีการหยุดทำงาน การตรวจสอบความเร็วเครือข่ายและความน่าเชื่อถือ และกระบวนการสำรองข้อมูล เมื่อคุณนำออกมาใช้งานจริงแล้ว ให้เผื่อใจเอาไว้ว่าอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะวางแผนสำหรับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

ขั้นตอนถัดไปในการนำซอฟต์แวร์ ERP มาใช้งาน

ขั้นตอนถัดไปที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนสำหรับองค์กรที่กำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนไปใช้ ERP สำหรับห่วงโซ่อุปทานคือ การเลือกคู่ค้าด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งมีซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งได้เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะธุรกิจของคุณ คู่ค้าที่น่าเชื่อถือจะตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบปัจจุบันของคุณ เป้าหมายของคุณคืออะไรทั้งในระยะสั้นและในอนาคต และปัญหาใด (ถ้ามี) ที่คุณหวังว่าจะแก้ไข

คู่ค้าด้านเทคโนโลยี จาก Microsoft สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าโซลูชันใดเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด เช่น Dynamics 365 Supply Chain Management และ Microsoft Supply Chain Platform

หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการโน้มน้าวใจให้ผู้บริหารเปลี่ยนไปใช้ ERP สำหรับห่วงโซ่อุปทานของคุณ โปรดพิจารณา การกำหนดเวลาในการสาธิต Dynamics 365 เพื่อให้คนอื่นๆ เห็นประโยชน์มากมายจากการเปลี่ยนแปลงโดยตรง

คำถามที่พบบ่อย

1. ERP ย่อมาจากอะไร และมีบทบาทอย่างไรในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning (การวางแผนทรัพยากรองค์กร) ซึ่งเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยปรับปรุงและทำให้กระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ การจัดการห่วงโซ่อุปทานใน ERP มีการจัดโครงสร้างเพื่อลดความซับซ้อนของการดำเนินงาน จะได้ประหยัดทั้งเวลาและเงิน ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโต ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด และช่วยให้ธุรกิจของคุณสอดคล้องกับปัจจัยด้านกฎระเบียบ

2. ตัวอย่างสถานการณ์สมมติทางธุรกิจของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ERP คืออะไร

ตัวอย่างสถานการณ์สมมติทางธุรกิจในชีวิตจริงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ ERP ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ บริษัทบำบัดน้ำเสียอย่าง ChemTreat ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ ERP ของห่วงโซ่อุปทานที่ทันสมัย บริษัทนี้ทำการติดตามวัสดุที่เข้ามาและติดตามกระบวนการผลิตบางกระบวนการโดยใช้แรงงานคนกับสเปรดชีต หลังจากทำการเปลี่ยนแปลงแล้ว ChemTreat สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งครอบคลุมทั้งผู้จำหน่าย สินค้าคงคลัง และลูกค้า ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วว่าใช้จ่ายไปกับผู้จำหน่ายรายใดบ้าง และเชื่อมโยงรายจ่ายเหล่านั้นกับการบริโภคและอุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง

3. ระบบ ERP และ SCM แตกต่างกันอย่างไร

ERP เป็นการวางแผนทรัพยากรองค์กร ส่วน SCM เป็นการจัดการห่วงโซ่อุปทาน แม้ว่าระบบ ERP และ SCM จะเชื่อมโยงกัน แต่ระบบ SCM นั้นมุ่งเน้นที่การวางแผนห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินการโดยเฉพาะ ในขณะที่ระบบ ERP ใช้วิธีการเชิงภาพรวมเพื่อรวมฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน เช่น กิจกรรมด้านการเงิน การดำเนินงาน การค้า การรายงาน การผลิต และทรัพยากรมนุษย์

4. ประโยชน์ของซอฟต์แวร์ ERP มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ต่างๆ ของ ERP รวมถึง:

  • นำเสนอโซลูชันการค้าช่องทาง Omni ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งรวมเอาประสบการณ์จากระบบหลังบ้าน ในร้านค้า และระบบดิจิทัลเข้าด้วยกัน
  • เพิ่มผลกำไรขณะที่ผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • จัดการข้อมูลบริษัทและพัฒนางานด้านการจัดการพนักงาน เช่น เงินเดือนและการจ้างงาน
  • ปรับปรุงการสื่อสารทางธุรกิจ
  • ทำให้กระบวนการประจำวันต่างๆ เป็นอัตโนมัติโดยใช้กระบวนการทำงานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและเงิน
  • ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและจัดการทรัพยากรผ่านข้อมูลแบบเรียลไทม์

5. ระบบ ERP ทำงานอย่างไร

ระบบ ERP ทำหน้าที่รวบรวมกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวเพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นย่อมาจากการวางแผนทรัพยากรองค์กร ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จัดการด้านการเงิน ห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินงาน การค้า การรายงาน การผลิต และกิจกรรมทรัพยากรบุคคลของบริษัท นอกจากนี้ ระบบ ERP ในห่วงโซ่อุปทานยังใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น ส่วนประกอบ IoT และการตรวจสอบ AI และระบบอัตโนมัติ เพื่อปรับปรุงข้อมูลและการวิเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น

6. ซอฟต์แวร์ ERP เรียนรู้ได้ง่ายหรือไม่

เนื่องจากซอฟต์แวร์ ERP ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจ กลยุทธ์ และการดำเนินการขององค์กรง่ายขึ้น และลดเวลาที่ใช้ในการศึกษาแหล่งข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง การเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์ ERP จึงน่าจะเป็นกระบวนการที่มีความตรงไปตรง อย่างไรก็ตาม การย้ายไปยังระบบ ERP ควรเป็นกระบวนการที่ทำอย่างรอบคอบและไม่เร่งรีบ

7. ระบบ ERP ในการผลิตคืออะไร

ระบบ ERP ในภาคการผลิตนั้นจะมุ่งเน้นในเรื่องของการปรับปรุงการสื่อสารทางธุรกิจ การทำให้กระบวนการประจำวันเป็นแบบอัตโนมัติด้วยกระบวนการทำงานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ และการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการจัดการทรัพยากรต่างๆ ผ่านข้อมูลแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโครงการ การจัดการต้นทุน และการวางแผนการผลิตอีกด้วย

8. ระบบ ERP ในโลจิสติกส์คืออะไร

ระบบ ERP ในระบบโลจิสติกส์หมายถึง เมื่อส่วนประกอบหลักต่างๆ ทั้งหมดของธุรกิจ เช่น กิจกรรมด้านการเงิน ห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินงาน การค้า การรายงาน การผลิต และทรัพยากรมนุษย์ สามารถดูได้จากที่เดียว เพื่อให้ผู้นำธุรกิจสามารถทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นทั่วทั้งบริษัทโดยพิจารณาจากการที่ส่วนประกอบต่างๆ มีผลกระทบต่อกันอย่างไร